Thursday, August 31, 2017

[Botany • 2017] Bulbophyllum physometrum sect. Physometra • A New Species and New Section in Bulbophyllum (Orchidaceae; Epidendroideae; Malaxideae) from northern Thailand


Bulbophyllum physometrum J.J.Vermeulen, Suksathan & Watthana

สิงโตต่างหู  || DOI:  10.11646/phytotaxa.302.2.7 

In 2010, the second author found a possible new species of Bulbophyllum in Mae Hong Son Province, northern Thailand. Three years later, Pitak Panyachan (Queen Sirikit Botanic Garden) found the same species on a fallen tree some six km from the first locality. Living plants were collected and brought back to QSBG in Chiang Mai for further investigation. A year later, the plants flowered and proved to be a species of Bulbophyllum new to science.

Keywords: Orchidaceae, Bulbophyllum, Thailand, Monocots


FIGURE 2. Bulbophyllum physometrum; flowering inflorescense.
(origin: Thailand, Suksathan 4243). Photo by P. Suksathan.

Bulbophyllum sect. Physometra J.J.Vermeulen, Suksathan & Watthana, sect. nov. 

Bulbophyllum physometrum J.J.Vermeulen, Suksathan & Watthana, sp. nov.  

Etymology:— Physos (Gr.) = blister, metra (Gr.) = womb.

Vernacular name:— “Sing to tang hoo (สิงโตต่างหู)”, meaning “Dangle Earings ู Bulbophyllum”. 




Jaap J. Vermeulen, Piyakaset Suksathan and Santi Watthana. 2017. A New Species and New Section in Bulbophyllum (Orchidaceae; Epidendroideae; Malaxideae). 
Phytotaxa. 302(2); 174–180. DOI:  10.11646/phytotaxa.302.2.7


อ.ส.พ. พบกล้วยไม้ไทยชนิดใหม่ของโลก 
หวั่นสูญพันธุ์ในไม่ช้าหลังมีประกาศขายในเว็บชื่อดัง

ดร.ปิยเกษตร สุขสถาน รักษาการรองผู้อำนวยการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ เปิดเผยว่า ทางองค์การสวนพฤกษศาสตร์ (อ.ส.พ.) ได้แถลงถึงการค้นพบกล้วยไม้ไทยหายาก สายพันธุ์ใหม่ของโลก “สิงโตต่างหู” ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bulbophyllum physometrum J.J. Vermeulen, Suksathan, & Watthana ซึ่งค้นพบโดย ดร. ปิยเกษตร สุขสถาน นักพฤกษศาสตร์ขององค์การฯ และได้ตีพิมพ์ลงในวารสารสากล Phytotaxa ฉบับที่ 302(2) เดือนมีนาคม 2560 นี้ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญกล้วยไม้จากเนเธอร์แลนด์ Dr. Jaap Vermeulen และ ดร. สันติ วัฒฐานะ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
กล้วยไม้ดังกล่าวเป็นกลุ่มกล้วยไม้สิงโตกลอกตา (Bulbophyllum) ขนาดเล็กที่เรียกกันว่า “มินิเอเจอร์ ออร์คิด” มีลำลูกกล้วยรูปร่างกลมแบนและเป็นร่องคล้ายซาลาเปาขนาดเพียง 1.2 – 1.4 เซนติเมตรเท่านั้น มีใบ 2 ใบ ช่อดอกผอมบางแทงออกจากใต้ลำลูกกล้วย ตอนปลายมีดอกเป็นกลุ่ม 5 – 9 ดอก ตัวดอกมีขนาดเล็กมาก มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 2 – 3 มิลลิเมตร ลักษณะพิเศษของสิงโตชนิดนี้คือ ส่วนรังไข่ของดอกปลายยอดที่เป็นหมันนั้นได้พัฒนาขยายตัวบวมพองออกจนมีขนาดใหญ่คล้ายโคมจีนหรือลูกบอลลูน เมื่อประกอบกับดอกปกติอื่นๆ โดยรอบจึงดูเหมือนตู้มหูหรือต่างหูที่มีตุ้มตรงปลายและแกว่งไกวไปมาได้เป็นอิสระ จึงเป็นที่มาของชื่อ “สิงโตต่างหู” ซึ่งมีการวิวัฒนาการของดอกเพื่อล่อแมลงในรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีรายงานมาก่อนเลยในกล้วยไม้
กล้วยไม้ชนิดนี้เป็นพืชหายากถิ่นเดียวของไทย ซึ่งมีรายงานพบได้เฉพาะในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเท่านั้น สถานภาพในธรรมชาติมีจำนวนน้อยมาก เนื่องจากถิ่นที่อยู่ในป่าดิบเขาของมันถูกทำลายจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก และเนื่องจากความแปลกประหลาดและหายากนี้เอง ทำให้มีความต้องการจากนักสะสมทั่วโลก กระทั่งมีการประกาศขายแล้วในเว็บไซต์ดังอย่าง eBay ซึ่งถือว่าผิดกฎหมายไซเตสอย่างแน่นอน จากปัจจัยร่วมดังกล่าวจึงน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่า “สิงโตต่างหู” อาจลดจำนวนลงและสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติในไม่ช้า ทั้งนี้ทาง อ.ส.พ. กำลังทำการศึกษาวิจัยหาทางขยายพันธุ์อย่างเร่งด่วน แข่งกับการลดลงของสายพันธุ์ และกระแสความต้องการเพื่อเป็นหลักประกันความอยู่รอดในอนาคตของกล้วยไม้สุดพิเศษชนิดนี้

น่ายินดี! พบกล้วยไม้ไทยพันธุ์ใหม่ของโลก 'สิงโตต่างหู' มีแค่แม่ฮ่องสอน